เฟซบุ๊คเปิดหน่วยงานใหม่เพื่อสร้างอนาคตของสังคมโลกเสมือน Social VR

Facebook เปิด Social VR Division

ตั้งแต่เฟซบุ๊คได้ซื้อ Oculus ในปี 2014 มาร์ค ซักเกอร์เบิร์ก ได้สัญญาไว้ว่า โลกเสมือนจริงจะเป็นรูปแบบการสื่อสารลำดับต่อไป

social VR

เมื่อวานนี้ที่งาน Mobile World Congress ที่จัดขึ้นที่ บาเซโลน่า มาร์คได้แลกเปลี่ยนความคิดเหล่านี้ด้วยการเปิดตัวทีมงานวิจัยและพัฒนาสังคมโลกเสมือน

นำทีมโดย เดเนียล เจมส์และไมค์ บูธ โดยทีมเป็นหน่วยงานหนึ่งของเฟซบุ๊คที่จะทำงานอย่างใกล้ชิดกับ Oculus เพื่อวิจัยและสร้างอนาคตของสังคมโลกเสมือนจริง

เฟซบุ๊คอธิบายว่าโลกเสมือนยังคงเป็นเรื่องใหม่สำหรับเฟซบุ๊ค แต่สำหรับ Oculus แล้ว เขาได้วางรากฐานให้กับตัวเองด้วยประสบการณ์ที่ผ่านมา เช่น ทอยบ็อกซ์ และ สังคม SDK ที่กำลังจะเปิดตัว ซึ่งเป็นกุญแจตัวสำคัญที่ทำให้นักพัฒนาได้สัมผัสกับการใช้งานแบบผู้เล่นหลายคนและระบบเครือข่ายได้ง่ายขึ้น ไพล์เมอร์ ลัคกี้ผู้ก่อตั้งOculus ได้บอกเราไว้ก่อนหน้านี้ว่า การอุทิศตัวเพื่อโลกเสมือนจริงของ Oculus คือเหตุผลที่ทำไมเขาถึงมาเป็นส่วนหนึ่งในเฟซบุ๊ค

จากแนวคิดเอกภพคู่ขนาน  โลกที่เชื่อมต่อกันขนาดใหญ่ใน แคลช หรือ เพลเยอร์ วัน ยังคงเป็นอะไรที่ห่างไกล

ลัคกี้กล่าวว่า มันไม่เกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ เราคิดว่ามันควรจะเกิด ในเวลาที่เหมาะสม มากกว่าการเร่งให้มันเกิด เราจะต้องผลักดันให้โลกเสมือนเข้าถึงจุดที่ผู้คนต้องการใช้งานอย่างจริงจังเสียก่อน จึงจะรู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ผู้คนต้องการ แล้วเราจึงจะรู้ว่าเราจะต้องออกแบบอนาคตของการปฏิสัมพันธ์กับโลกเสมือนนั้นให้มีหน้าตาแบบไหน

ในขณะที่ต้องใช้เวลาสักระยะในการผลักดันให้โลกเสมือนไปถึงจุดที่ผู้คนต้องการใช้งานอย่างจริงจัง  ซัมซุงประกาศว่าเขาวางแผนที่จะออก เกียร์ วีอา (Gear VR) ไปกับ กาแล็คซี่ เอส7 และ เอส7 เอจ ทุกตัว ซึ่งต้องสั่งจองล่วงหน้าเท่านั้น โดยปีที่แล้วซัมซุงรายงานว่า การสั่งจองกาแล็คซี่ เอส6 และเอส 6 เอจ อยู่ที่ 20 ล้านเครื่อง  การแจกจ่าย Gear VR เป็นการโยนหินถามทาง  ต่อให้ได้แจกจ่ายออกไปเพียงสิบอันก็ถือได้ว่าเป็นการเร่งการเติบโตของฐานผู้ใช้งานโลกเสมือน นั่นจะย้อนกลับมาแสดงให้เห็นถึงการเติบโตของความต้องการสังคมโลกเสมือนเช่นกัน

ทีมพัฒนาสังคมโลกเสมือนก็มองการณ์ไกลเช่นกัน เพราะแต่ละคนในทีมต่างก็มาจากทีมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโลกเสมือนมาก่อน

Facebook VR

ก่อนที่เดเนียล เจมส์ จำมาร่วมงานกับเฟซบุ๊ค เขาเคยสร้างฐานข้อมูลโลกออน์ไลน์ที่มีผู้เล่นมากกมายให้กับบริษัท Three Rings โดยตั้งเป้าที่จะสร้างโลกออนไลน์ขนาดใหญ่ที่เข้าถึงได้สำหรับผู้เล่น อย่างเช่น เกมส์Puzzle Pireates จากนั้นเจมส์และ Three Rings ได้พัฒนารูปแบบเว็ปไซด์ที่ชื่อ  Whirled ซึ่งเหมือนเกมส์ Play Station Home  เรื่องราวในเกมส์นั้นมันเป็นจักรวาลในโลกออนไลน์ที่ผู้คนเข้ามาพักผ่อนและพูดคุยกัน แต่ฉากและตึกอาคารในเกมส์ส่วนใหญ่ผู้เล่นเป็นผู้สร้างขึ้น หลังจากที่ Three Rings ถูก SEGA เข้ายึด ในเดือน พฤศจิกายน ปี 2011 เจมส์เข้าทำงานกับ SEGA โดยอยู่ในทีมพัฒนาโทรศัพท์มือถือแทน

มิเชล บูธ ที่ก่อนหน้านี้ได้ทำงานกับทั้ง Valve และ Blizzard ได้เป็นหัวหน้าในการพัฒนาเกมส์ซีรีย์ 4 Dead
เขาได้เฟ้นหานักพัฒนาเกมส์ผู้ช่ำชองที่นำมาไว้ในทีมด้วยการ ใช้โปรไฟล์ในLink in ของเขา ตั้งกระทู้ว่า“ทำอย่างไรโลกเสมือนจึงสามารถทำให้ผู้คนกว่า 1.5 ล้านคนในเฟซบุ๊คแบ่งปันประสบการณ์และเชื่อมต่อกันและกันด้วยวิธีการใหม่ๆที่น่าทึ่ง”

ขณะที่บูธและเจมส์ ขยายทีมพัฒนาสังคมโลกเสมือน เพื่อค้นหาว่าอนาคตของรูปแบบการสื่อสารควรจะเป็นอย่างไร เฟซบุ๊คยังคงตั้งเป้าไปที่ผู้ใช้งานส่งผ่านความทรงจำด้วยวีดิโอ 360 องศา

“ผมอยากบันทึกความทรงจำตอนที่เธอเดินก้าวแรกได้” ซักเกอร์เบอร์กล่าว “ตอนที่ผมเดินก้าวแรกได้ พ่อแม่ของผมแค่จับปากกาและเขียนวันที่ลงในสมุดบันทึก สำหรับลูกของลูกพี่ลูกน้องผม เธอถ่ายรูปเก็บไว้ด้วยกล้องถ่ายรูป พี่สาวของผมเธอบันทึกก้าวแรกของลูกชายด้วยวิดิโอบนมือถือ แต่ผมอยากจะบันทึกทุกสิ่งทุกอย่าง ดังนั้น ผมหวังว่าเราจะสามารถเก็บวีดิโอได้ 360 องศา และด้วยวิธีนี้ ถึงแม้ว่าคนอื่นๆในครอบครัวของผมจะไม่ได้อยู่ด้วยในเหตุการณ์นั้น แต่พวกเขาจะรู้สึกเหมือนได้อยู่ ณ ที่นั่นกับเรา โลกเสมือนจึงเป็นรูปแบบต่อไป ที่ซึ่งทุกคนสามารถสร้าง และลิ้มลองทุกๆอย่างที่เขาต้องการ”

จากที่ซักเกอร์เบิร์กได้ทำให้ผู้คนดูวีดิโอ 360 องศาในเฟซบุ๊คกว่าล้านคนต่อวัน โดยมีการอัพโหลดโดยผู้ใช้มากกว่าสองหมื่นเรื่อง ตัวเลขเหล่านี้ยังคงน้อยนิดเมื่อเทียบมาตรฐานการชี้วัดบนเฟซบุ๊ค แต่ นั่นเป็นเพียง การสร้างเนื้อหาแบบ360องศาในระดับเบื้องต้นเท่านั้น ซึ่งการประกาศเปิดตัวของกล้อง360องศาของซัมซุงและ LGgเมื่อไม่นานมานี้ จะช่วยเปลี่ยนตัวเลขนั้นในไม่ช้า

เฟซบุ๊คได้โพสลงบล็อคของตนเองว่า “เราได้ช่วยผู้คนให้ติดต่อกันด้วยวิธีที่กว้างขวางและหลากหลายในอุปกรณ์มือถือ และตอนนี้ อยากเราก็มาถึงครึ่งทางของการสื่อสารในโลกเสมือนแล้ว”