เทคโนโลยี Virtual Reality กับวงการแพทย์ สามารถช่วยให้คนหายกลัวในสิ่งที่กลัวได้

เทคโนโลยีเสมือนจริงจะเป็นทางบำบัดรักษาโรคขี้กลัวของคนได้อย่างไร

     โรคขี้กลัวหรือหวาดระแวงต่างๆนั้น มีมานมนานมากแล้วนับตั้งแต่มนุษยชาติก่อเกิดขึ้นมา จนกระทั่งปัจจุบันนั้นก็ยังมีมนุษย์หลายๆคนเป็นโรคนี้กันอยู่ แต่จะกลัวอะไรที่ต่างกันออกไป บางคนกลัวแมว บางคนกลัวหมา บางคนกลัวแมลง แต่การมาของเทคโนโลยีเสมือนจริงนี้อาจจะทำให้คนที่เป็นโรคขี้กลัวต่างๆนั้นบรรเทาลงได้ ในทางการแพทย์นั้น เหล่าแพทย์ทางด้านจิตวิทยาได้ใช้เทคโนโลยี Virtual Reality ในการบำบัดอาการเหล่านี้กันอย่างแพร่หลาย จนถึงกับมีบางคนสามารถกลับไปเผชิญกับสิ่งที่กลัวด้วยตัวเองได้อีกครั้งหนึ่ง ดังนั้นบทความนี้ทีมงานจะมาให้ความรู้และแนะนำแอปหรือทางออกสำหรับคนที่เป็นโรคขี้กลัวกันครับว่ามีอะไรบ้าง

aracnophobia-image-1
สำหรับคนที่กลัวแมงมุมต้องเจอกับเกมนี้ Aracnophobia
climb-vr
เกมสำหรับคนที่กลัวความสูงอย่าง The Climb ที่วงการแพทย์ใช้บำบัดอาการกลัวความสูง

     ในบรรดาโรคขี้กลัวนี้มีปลีกย่อยออกไปหลายประเภทมาก แต่วันนี้เราจะมาดูโรคขี้กลัวที่คนทั่วๆไปเป็นกันมากที่สุดเลยครับว่ามีโรคอะไรกันบ้าง จากผลสำรวจของกลุ่มจิตแพทย์พบว่าคนทั่วๆไปนั่นคือ โรคกลัวความสูงกันมากที่สุดเลย รองลงมาคือกลัวแมงมุม โดยทั้ง 2 อย่างนี้เท่าที่ทีมงานลองไปค้นข้อมูลมาก็พบว่าเป็นไปตามที่จิตแพทย์วิเคราะห์มาจริงๆ เพราะความสูงนั้นเวลาที่เรามองก็จะรู้สึกวูบเหมือนดิ่งลงไปเบื้องล่าง ทำให้เกิดอาการเกร็งไม่กล้าขยับไปไหน และอาการกลัวสัตว์จำพวกแมลงอย่างเช่น แมงมุม ที่หลายๆคนได้เจอก็รู้สึกขนลุกและอยากจะหนีไปไกลๆ เมื่อก่อนนั้นทางแพทย์จะทำการรักษาโดยการพูดคุยและปรับความเข้าใจเป็นหลัก แต่พอเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาทำให้การรักษานั้นเป็นไปได้ง่ายยิ่งขึ้น และผู้ป่วยเองก็มีกำลังใจที่พร้อมจะกลับไปใช้ชีวิตอย่างคนปกติมากขึ้นเช่นเดียวกัน ส่วนแอปฯที่ทางแพทย์นำไปใช้นั้นก็เป็นแอปฯจำลองสถานการณ์ที่ทำให้ผู้ป่วยตกอยู่ในเหตุการณ์ที่ต้องเผชิญหน้ากับสิ่งที่กลัวนั่นเอง อย่างโรคกลัวความสูง แพทย์จะใช้แอปฯจำพวกเกมปีนเขา เกมจำลองการเดินบนสะพานแขวน หรือเกมที่ผู้เล่นต้องเดินบนที่สูงแล้วมองลงมาเบื้องล่างเป็นต้น ส่วนแอปฯที่บำบัดอาการกลัวแมงมุมนั้นทางทีมงานลองไปคนดูแล้วกลับพบมามีแอปฯหนึ่งที่ชื่อว่า Arachnophobia จากค่าย IgnisVR ที่เป็นแอปฯเฉพาะสำหรับการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการกลัวแมงมุมโดยเฉพาะ โดยการให้ผู้ป่วยสวมแว่นแล้วตัวเกมจะทำงานโดยการปล่อยแมงมุมออกมาเพื่อให้ผู้ป่วยค่อยๆทำใจและไปเผชิญหน้ากับแมงมุมนั่นเอง เป็นวิธีการหักดิบเลยก็ว่าได้ครับ

clinical-psychology
รูปภาพกระบวนการความคิดซึ่งสมองของมนุษย์จะแบ่งเป็น 2 ซีก โดยซีกซายคือการคิดแบบวิเคราะห์และใช้เหตุผล ซีกขวาจะเป็นการคิดจากความรู้สึก จะเห็นได้ตามคลีนิคจิตเวทย์ทั่วๆไป

เกร็ดความรู้เพิ่มเติม

     โดยหลักการทั่วไปนั้นอาการเหล่านี้มักจะเกิดจากสิ่งที่ถูกปลูกฝังมาตั้งแต่วัยเยาว์อย่างเช่น หลายๆคนกลัวผี เพราะตอนเด็กๆถูกสอนมาว่าอย่านอนดึกเดี๋ยวผีมาเอาไปอยู่ด้วย เป็นต้น ก็ทำให้คนที่มีอาการแบบนี้นั้นกลัวผีมาตั้งแต่ตอนนั้นทันที และอีกหลายๆสารพัดความกลัวของคน ซึ่งเทคโนโลยีตัวนี้เป็นเพียงตัวเลือกหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยสามารถเผชิญหน้ากับสิ่งที่กลัวได้เพียงลำพังเท่านั้น แต่สุดท้ายแล้วก็ขึ้นอยู่กับภาวะจิตใจของผู้ป่วยเองด้วยว่า พร้อมที่จะเผชิญกับมันแล้วหรือยัง แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดของคนที่เป็นโรคขี้กลัวคือการให้กำลังใจ เพราะหลายๆคนพอมีคนรอบข้างรู้ว่ากลัวอะไร ก็มักจะโดนแกล้งบ่อยๆจนกลายเป็นปมที่ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติจนเกิดเป็นความระแวง และพอเจอมากๆเข้ามันก็กลายเป็นโรคเรื้อรังที่อาจจะรักษาไม่หายในที่สุด ดังนั้นถ้าใครมีเพื่อนที่เป็นโรคพวกนี้ก็อย่าไปแกล้งเขานะครับ เพราะมันจะเป็นปมในใจเขาไปตลอด

     หากใครที่เป็นโรคขี้กลัวหรือระแวงอะไรจำพวกนี้ ก็ลองใช้วิธีนี้บำบัดอาการของตัวเองได้นะครับ เพราะคนที่เข้าใจอาการของเราได้ดีที่สุดก็คือตัวเราเองครับ หากในอนาคตมีข้อมูลอะไรที่เกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยี VR ของเราอีก ทีมงานก็จะนำมาบอกให้ผู้อ่านทุกท่านได้รับทราบกันนะครับ

Source : uploadvr.com